ออทิสติกแท้ vs ออทิสติกเทียม

140098 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ออทิสติกแท้ vs ออทิสติกเทียม

    คำถามเหล่านี้มักจะสิ่งที่เหล่าผู้ปกครองสงสัยและสอบถามกันเยอะมากๆ ว่าลูกของเราเป็น “ออทิสติกแท้” หรือ “ออทิสติกเทียม” ออทิสติกเกิดขึ้นจากอะไร? แยกออกจากกันอย่างไร? ควรจะรักษาแบบไหนดี? เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ

(สามารถสอบถามข้อมูล ค่าบริการคอร์สกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งที่คลินิกและที่บ้าน กิจกรรมบำบัด ฝึกพูด ปรับพฤติกรรม โดยนักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาพัฒนาการ GROWING SMART CLINIC หรือรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นผ่านทางโทรศัพท์ 083-806-1418 และทาง เพิ่มเพื่อน และผู้ปกครองสามารถทำการนัดประเมินพัฒนาการถึงที่บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเราเชื่อว่าเด็กๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสม)



ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) 

     โรคออทิสติก จัดอยู่ในกลุ่มการวินิจฉัยโรค ที่เรียกว่า พีดีดี หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติมากกว่าเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม

     การที่จะดูว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่ ถ้าอาการมาก อาการรุนแรง จะดูออกได้ไม่ยาก แต่ถ้าอาการน้อยๆ จะดูยากมาก ต้องอาศัยความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการเด็ก นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาเด็ก และบางคนอาจต้องประเมินและติดตามระยะหนึ่ง จึงจะได้ข้อสรุปที่แน่นอน

     โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรมและความสนใจเป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ปัญหาดังกล่าวเป็นตั้งแต่เล็ก แสดงให้เห็นก่อนอายุ 3 ขวบ


ออทิสติกมีลักษณะอาการอย่างไร

    เด็กที่เป็นออทิสติกจะมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีลักษณะร่วมคล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก 
    ด้านสังคม เด็กอยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร ไม่สนใจของเล่น ไม่สนใจในเรื่องที่คนรอบข้างกำลังสนใจอยู่ ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการของตนเอง อยู่ในโลกของตัวเอง กระตุ้นตัวเองเป็นระยะ เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า สะบัดมือ เล่นมือ เล่นเสียง เป็นต้น 
    ด้านภาษา ไม่สมวัย โต้ตอบไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง พูดเป็นภาษาต่างดาว แต่เป็นลักษณะพูดซ้ำๆ พูดเลียนแบบโดยไม่เข้าใจความหมาย พูดเรียงประโยคไม่ถูกต้อง
    ด้านพฤติกรรม ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น ไม่มีประโยชน์ จ้องมองพัดลมหรือของหมุนได้นาน สะบัดแผ่นซีดีหรือวัสดุที่สามารถสะท้องแสงไปมาเพื่อดูแสงเงา ทานอาหารเมนูซ้ำเดิมไม่ยอมเปลี่ยน ใส่เสื้อตัวเดิมหรือสีเดิมตลอด ถ้ากิจวัตรที่เคยทำเปลี่ยนไปจากเดิม จะอารมณ์เสีย หงุดหงิด โวยวาย
    ไฮเปอร์แอคทีฟ (Hyperactive) เป็นอาการที่พบร่วมได้ในเด็กออทิสติก ประมาณร้อยละ 70 มักพบมีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย ร้อยละ 50-70 แต่ในขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีความสามารถพิเศษถึงร้อยละ 10 

    อาการผิดปกติของออทิสติกเริ่มสังเกตได้ชัดเจนขึ้นในช่วงขวบปีที่สอง เด็กยังไม่พูดเป็นคำ แต่จะพูดเป็นภาษาต่างดาวที่ไม่มีความหมาย เวลาอยากได้อะไรมักจะทำเอง หรือจูงมือพ่อแม่ไปหยิบโดยไม่ส่งเสียง ชอบจ้องมองสิ่งของที่เป็นแสงวาววับ แสงไฟ เงาที่กระเพื่อมไปมา หรือของหมุนๆ เช่น พัดลม ล้อรถที่กำลังหมุน เริ่มเล่นมือ สะบัดมือ หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า นับจากขวบปีที่สามเป็นต้นไป อาการจะชัดเจนขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ถ้าไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนบำบัดรักษา การดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง



ออทิสติกเทียม

     ภาวะออทิสติกเทียม ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีภาวะนี้ มากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักๆ ของออทิสติกเทียมไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่เกิดมาจากการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของออทิสติกขึ้นมา ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีเป็นมาแต่กำเนิด การเลี้ยงดูที่ว่านี้ คือการที่เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการเท่าที่ควร ทำให้พัฒนาการต่างๆ ล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย โดยที่ลักษณะอาการจะใกล้เคียงกับ “โรคออทิสติก”


การเลี้ยงดูแบบไหนที่ “ไม่” ส่งเสริมพัฒนาการลูก

    ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูก เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต ให้เป็นผู้ช่วยดูแลลูกเพื่อให้ลูกอยู่นิ่งๆ จะได้ไม่กวนเวลาทำงาน ลูกจึงได้รับการสื่อสารทางเดียว เล่นคนเดียว ไม่มีโอกาสได้ฝึกพูดตอบโต้กับใคร ทำให้ทักษะการสื่อสารไม่ถูกกระตุ้น 

     - พ่อแม่รู้ใจ ทำให้ลูกแทบทุกอย่าง โดยไม่มีการฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตนเองเมื่อถึงวัย รู้ใจที่แค่ลูกมีสีหน้าอยากดื่มน้ำก็เอาน้ำให้ทันทีโดยที่ลูกไม่พูดบอก
     - พ่อแม่ไม่ปล่อยให้ลูกทำอะไรหรือเรียนรู้ด้วยตัวเอง มักมีคำพูดติดปาก เช่น "ห้ามแตะนะ" "อย่าไปนะ"  "ไม่ได้นะ" "เดี๋ยวแม่ทำให้" 
     - พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาพูดคุยเล่นกับลูก
     - พ่อแม่ไม่ค่อยให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้าน ทำให้ลูกไม่รู้จักการอยู่ร่วมในสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกัน

     การเลี้ยงดูในลักษณะนี้ นอกจากจะไม่กระตุ้นให้มีพัฒนาการตามวัยแล้วนั้น ยังทำให้ลูกมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ช้ากว่าเดิม เด็กปกติ ก็อาจกลายเป็นเด็กไม่ปกติหรือ “ออทิสติกเทียม”ได้ !! หากผู้ปกครองรู้ว่าลูกมีภาวะดังกล่าวแล้วยอมรับ เข้ารับการฝึก การบำบัดรักษากระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสมกับนักกิจกรรมบำบัดวิชาชีพตั้งแต่เนิ่นๆ ภาวะ “ออทิสติกเทียม” ก็จะดีขึ้น และอาจกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการปกติในที่สุด วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็น “ออทิสติกเทียม” คือการมีเวลาให้กับลูกเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด 

 

การบำบัดรักษาเด็กออทิสติกและเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียม

    เมื่อผ่านการตรวจประเมิน และวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางแล้ว จะเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยทีมนักวิชาชีพต่างๆ

    นักกิจกรรมบำบัด ปรับระดับการรับความรู้สึกในด้านต่างๆ ให้เหมาะสม ลดอาการซน อยู่ไม่นิ่ง การกระตุ้นตัวเอง ส่งเสริมทักษะต่างๆ ในการใช้ชีวิต
    นักจิตวิทยาพัฒนาการ ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมทักษะทางภาษา และทักษะทางสังคม
    นักจิตวิทยาคลินิก บำบัดเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ให้คำปรึกษากับพ่อ แม่ ผู้ปกครองและคนในครอบครัว
    นักแก้ไขการพูด ส่งเสริมทักษะการพูดความชัดเจนในการสื่อสาร 
    ครูการศึกษาพิเศษ สอนทักษะการเรียนรู้ทางด้านวิชาการที่เฉพาะเจาะจง เมื่อเด็กๆ แต่ละคนพร้อมเข้าสู่การเรียน 

 

 

สรุปให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ออทิสติกเทียม
     ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าเกิด จากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เกิดมาจากการเลี้ยงดู

ลักษณะอาการ
-เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร

-กระตุ้นตัวเอง เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า สะบัดมือ เล่นมือ เล่นเสียง

-พูดเป็นภาษาต่างดาว พูดซ้ำๆ พูดเลียนแบบโดยไม่เข้าใจความหมาย การเล่นไม่สมวัย

-พฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น

-เรียกหันบ้างไม่หันบ้าง มองหน้าสบตาได้แต่ไม่นาน สนใจจอต่างๆมากกว่าบุคคล

-พูดซ้ำ พูดตาม พูดเหมือนทำนองเพลง ท่องเนื้อเพลง ตัวอักษรต่างๆได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย

-เล่นของเล่นในรูปแบบเดิมๆ ชอบเล่นคนเดียว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่ิอนวัยเดียวกัน



การบำบัดรักษา


- นักกิจกรรมบำบัด
- นักจิตวิทยาพัฒนาการ
- นักจิตวิทยาคลินิก
- นักแก้ไขการพูด
- ครูการศึกษาพิเศษ

 

การพยากรณ์โรค

     ไม่สามารถหายขาดได้ แต่สามารถฝึกกระตุ้นพัฒนาการ ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ ให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เต็มศักยภาพ สามารถหายขาดได้หากได้รับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมจากนักวิชาชีพในด้านต่างๆ

     คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองที่มีความสงสัยว่า ลูก บุตรหลานของท่านมีอาการเหล่านี้ เช่น ลูกพูดช้า ไม่พูด พูดไม่เป็นคำ ไม่มองหน้าสบตา เล่นไม่เป็น ซน อยู่ไม่นิ่ง มีปัญหาด้านการเรียน ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม เข้าข่ายออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม ไฮเปอร์ สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ หรือไม่

     สามารถสอบถามข้อมูล ค่าบริการคอร์สกระตุ้นพัฒนาการที่บ้าน กิจกรรมบำบัด ฝึกพูด ปรับพฤติกรรม โดยนักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาพัฒนาการ ครูการศึกษาพิเศษจาก GROWING SMART CLINIC หรือรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นผ่านทางทรศัพท์ 083-806-1418 และทาง เพิ่มเพื่อน  และผู้ปกครองสามารถทำการนัดประเมินพัฒนาการถึงที่บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเราเชื่อว่าเด็กๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสม

 


ครูอาโป ชญานันทน์ วชิรางกูร

นักกิจกรรมบำบัด

หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กจาก GROWING SMART CLINIC


อ้างอิง
พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา แพทย์เฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น.พลังแห่งรักชนะ”ออทิสติกเทียม”.[อินเทอร์เน็ต].โรงพยาบาลศรีธัญญา แพทย์เฉพาะทางจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลเวชธานีและโรงพยาบาลนครธน.2557 [เขาถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://www.posttoday.com/life/healthy/284233


ข้อมูลวิชาการกลุ่มโรคสำคัญ/ออทิสติก.[อินเทอร์เน็ต]. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.2557 [เขาถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2563]. 

เข้าถึงได้จาก:https://th.rajanukul.go.th/ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้